เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 29-31. ญาณัตตยนิทเทส
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 8 ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 8 ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม 8 ประการ ญาณในอรรถ 8 ประการ ญาณในนิรุตติ 16
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ 25-28 จบ

29-31. ญาณัตตยนิทเทส
แสดงญาณ 3 อย่าง
[78] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะ
แห่งวิหารธรรม) ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งสมาบัติ) ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
(ญาณในสภาวะแห่งวิหารสมาบัติ) เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งสัง
ขารนิมิตด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต
นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :131 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 29-31. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิ1 (ความตั้งมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งปณิธิ
ด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ2 นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาอภินิเวส3 (ความยึดมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่ง
อภินิเวสด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็น
สุญญตะ4 นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่
มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ

เชิงอรรถ :
1 ปณิธิ หมายถึงตัณหา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)
2 นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ หมายถึงนิพพานที่เป็นปฏิปักข์ต่อตัณหา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)
3 อภินิเวส หมายถึงความยึดมั่นว่าอัตตา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)
4 นิพพานที่เป็นสุญญตะ หมายถึงนิพพานที่ปราศจากอัตตา (ขุ.ป.อ. 1/78/323)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :132 }